วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

                            แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนที่ 3. เรื่องคอมพิวเตอร์และและระบบคอมพิวเตอร์
1.คอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร ? และมีประโยชน์อย่างไร?
       ตอบ  เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ รวมทั้งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งเป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง
      ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
       1.มีความเร็วในการทำงานสูง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบันสามารถประมวณคำสั่งในช่วงเวลา 1 วินาที่ได้มากกว่าหนึ่งร้อยล้านคำสั่งจึงใช้ในงานคำนวณต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การฝาก ถอนเงินจากตู้เอทีเอ็ม เป้นต้น
       2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสัปดาห์ หรือเป็นปี โอกาสเครื่องเสียน้อย ใช้แทนกำลังคนได้มากมาย
       3. มีความถูกต้องแม่นยำตามโปรแกรมที่สั่งงานและข้อมูลที่ใช้
       4. เก้บข้อมุลได้มาก ไม่ต้องใช้เอกสารและตู้เก็บ
       5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วและช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน
2. คอมพิวเตอร์มีที่มาอย่างไร?
       ตอบ   คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนตามคำสั่งของโปรแกรม มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" ขั้นตอนการทำงานจะประกอบด้วย การรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ แล้วทำการคำนวณ เคลื่อนย้ายเปรียบเทียบ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
3. ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
      ตอบ1. หน่วยรับข้อมูลเข้า Input unit  เป็นวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาเชื่อมต่อทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบเพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการทั้งวัสดุเกียวข้อง
            2. หน่วยปรมวลผลกลาง ทำหน้าที่เกียวกับการคำนวณทั้งทางตรรกและคณิตศาสตร์ 
            3.หน่วยความจำ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งไปประมวณผลยังหน่วยผลประมวณกลาง เพื่อเตรียมส่งต่อไป
            4. หน่วยแสดงผล ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวณหรือผ่านการคำนวณแล้ว
            5. อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น
4. ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร ? ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร?
       ตอบ   เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network)  คือ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้  นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่นเครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น  การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก  เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก  ก็ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ได้กับคนทั่วโลก โดยใช้แอพพลิเคชั่น เช่น เว็บ อีเมลล์ เป็นต้น
        1.ฮาร์ดแวร์( Hardware )หรือส่วนตัวเครื่อง
        2. ซอฟต์แวร์( Software)
        3. ข้อมูล ( Data)
        4. บุคลากร (people)
5. ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไรบ้าง?
      ตอบ ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆ ที่เราสามารถสัมผัสได้และจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน 
         1. ส่วนประมวณผล( processor)
         2. ส่วนความจำ  (Memory)
         3. อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก(Input Output Devices)
         4. อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล(Storage Device)
6. ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์?
      ตอบ ซีพียู (CPU) ย่อมาจากคำว่า Central Processing Unit หรือหน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่หลักในการคิด คำนวณ ประมวลผลข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนวณทางด้านตัวเลข บวก ลบ คูณ หาร หรือการคำนวณทางด้านตรรกะ (เชิงเปรียบเทียบข้อมูล) เมื่อคอมพิวเตอร์มีการรับข้อมูลใดๆ เข้ามาจัดเก็บหรือพักไว้ในหน่วยความจำแล้วก็จะถูกส่งต่อให้ซีพียูนั้นทำการประมวลผลก่อนเสมอ
7. หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม (RAM) และแบบรอม(ROM) ของหน่วยคว่มจำหลักแตกต่างกันอย่างไร?
        ตอบ RAM ย่อมาจาก (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ กข้อมูล (Output)    = ROM =
   ใช้เก็บข้อมูลซึ่งมักเป็นโปรแกรม จะเก็บแบบถาวร คือข้อมูลยังอยู่โดยไม่ต้องมีไฟเลี้ยง มักเขียนครั้งเดียวเพื่อไว้อ่านครั้งต่อๆ ไปโดยจะเขียนทับซ้ำไม่ได้ในการทำงานปกติ ยกเว้นสั่งเขียนผ่านอุปกรณ์เขียน เมื่อจะแก้หรือเปลี่ยนข้อมูลใหม่ 
   มักจะใช้เพื่อเก็บโปรแกรมเริ่มต้นระบบ เมื่อเปิดสวิตซ์เครื่อง เช่น BIOS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือรวมถึงใช้เก็บโปรแกรมทำงานทั้งหมด ในอุปกรณ์ที่ต้องการเก็บโปรแกรมทำงานไว้ในเครื่องแบบถาวร เช่น เครื่องคิดเลข 
   ROM * คุณสมบัติคือ เก็บข้อมูลแบบถาวร แต่ความเร็วต่ำ ขนาดไม่ใหญ่มากนัก และไม่มีการแก้ไขข้อมูลบ่อย
8. จานจดบันทึกข้อมูล(Hard Disk) ประกอบด้วยอะไร ทำหน้าที่อย่างไร?
     ตอบ จานจดบันทึกข้อมูลแบบแข็ง ประกอบด้วยแผ่นจากแม่เหล็กตั้งแต่หนึ่งแผ่นจนถึงหลายแผ่น แหละเครื่องขับจาน เป็นส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง มีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆ
 9. จงบอกความหมายของคำต่อไปนี้ เมกะไบร์ กิกะไบร์ พิกเซล  จิกะเฮิร์ซ?
        ตอบ เมกะไบต์ ( megabyte) เป็นหน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage) ในคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ เมกะไบต์นิยมเขียนย่อเป็น MB (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต) หรือบางครั้งอาจพูดหรือเขียนเป็น เม็ก หรือ meg
         กิกะไบต์[1][2] หรือ จิกะไบต์[1][2] (gigabyte) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์
จิกะไบต์ มีขนาดอ้างอิงหลัก ๆ ได้สองอย่างคือ
จุดภาพ หรือ พิกเซล (อังกฤษpixel) เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือ จุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย และแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดภาพ หรือบางครั้งแทนว่าความละเอียด (ความคมชัด) ที่แตกต่างกันไป จึงใช้ในการบอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้
จอภาพที่มีจำนวนพิกเซลมาก จะมีความละเอียดของภาพมาก โดยมากจะระบุจำนวนพิกเซลแนวนอน x แนวตั้ง เช่น 1366 x 768 พิกเซล
คำว่า "พิกเซล" (pixel) มาจากคำว่า "พิกเจอร์" (picture) ที่แปลว่า รูปภาพ และ "เอเลเมนต์" (element) ที่แปลว่า องค์ประกอบ
เฮิรตซ์(  hertz ย่อว่า Hz) เป็นหน่วย SI ของค่าความถี่ โดย 1 Hz คือความถี่ที่เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อวินาที (1/s) หรือ :1 Hz = 1/S ดังนั้น 50 Hz หมายถึงมีความถี่เท่ากับ 50 ครั้งต่อ 1 วินาที[1]
หน่วยความถี่อื่นๆ ได้แก่ เรเดียนต่อวินาที (radian/second, rad/s) และ รอบต่อนาที (revolutions per minute, RPM)
hertz มาจากชื่อนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ชื่อ ไฮน์ริช เฮิร์ตซ์ (Heinrich Rudolf Hertz) เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้าน แม่เหล็กไฟฟ้า
หน่วย hertz ได้กำหนดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) แล้วเริ่มมาใช้แทน หน่วย รอบต่อวินาที (cycles per second หรือ cps) ในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) หน่วย Hz ได้ใช้ทดแทนการใช้ cps แทบทั้งหมด
10. จอภาพ แป้นพิมพ์ และเมาส์ ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์
        ตอบ จอภาพคือ เป็นอุปกรณ์แสดงข้อมูลผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแสดงผลได้ทั้งตังหนังสือภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว โดยทั่งไปนิยมใช้สี
        แป้นพิมพ์ คือ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับเข้าข้อมูลจากการกดแป้นพิมพ์เพื่อส่งต่อคอมพิวเตอร์แป้นพิมพ์ที่นิยมใช้จะมี 101 แป้นและแยกเป็นอักขระและตัวเลขออกจากกัน
        เมาส์ คือ เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายตัวหนู ส่วนของสายสัญญาณจากตัวอุปกรณ์ที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายส่วนหางหนู เราสามารถใช้เมาส์ในการควบคุมตัวชี้ ที่ปรากฏบนหน้าจอภาพให้ความสามารถไปสู้ตำแหล่งต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น