วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

       แบบฝึกหัดท้ายบทที่8 เรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนอผลงาน
1.ให้ผู้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน
      
1.1 การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบ คิดว่าการนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หรือ ศึกษาในเรื่องนั้นๆ ก่อนจะนำมาเสนอในรูปแบบต่างๆ จะต้องอาศัยทั้งความรู้ตลอดจนทักษะของผู้เรียน และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้ชม เข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอ และเพื่อให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ
 
      1.2 หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ   1) การดึงดูดความสนใจ  
                    โดยการออกแบบให้สิ่งที่ปรากฏต่อ สายตานั้นชวนมอง และมีความสบายตาสบายใจขึ้น เมื่อชมการนำเสนอ ดังนั้นการเลือกองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น สีพื้น แบบ สี และขนาดของตัวอักษร รูปประกอบ ต้องเหมาะสม สวยงาม
          2) ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา 
                    ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน ส่วนที่เป็นภาพประกอบต้องมีส่วนสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับข้อความที่ต้อง การสื่อความหมาย การใช้ภาพประกอบ มีประโยชน์มาก ดังคำพังเพยภาษาอังกฤษที่ว่า "A picture is worth a thousand words" หรือ "ภาพภาพหนึ่งนั้นมีค่าเทียบเท่ากับคำพูดหนึ่งพันคำ"  แต่ประโยคนี้คงไม่เป็นจริงหากภาพนั้นไม่มีความสัมพันธ์ อย่างสร้างสรรค์กับความหมายที่ต้องการสื่อ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจใช้ภาพใดประกอบ จึงควรตอบคำถาม ให้ได้เสียก่อนว่าต้องการใช้ภาพเพื่อสื่อความหมายอะไรและภาพที่เลือกมานั้น สามารถทำหน้าที่สื่อความหมายเช่นนั้นจริงหรือไม่
         3) จัดหาเครื่องมือตามความต้องการของซอฟต์แวร์
               ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมแต่ละโปรแกรมมีความสามารถไม่เหมือนกัน ขนาดของโปรแกรมก็ไม่เท่ากัน ทำให้ความต้องการของฮาร์ดแวร์ในการทำงานตามโปรแกรมนั้นแตกต่างกัน ในคู่มือการใช้งานโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์นั้นจะบอกข้อกำหนดของฮาร์ดแวร์ที่ ต้องการสำหรับการใช้งานไว้ว่าจะต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง เราจะต้องจัดหาฮาร์ดแวร์ให้ได้ตามข้อกำหนดนั้นเพื่อให้สามารถใช้งาน ซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับระบบโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์นั้น ส่วนใหญ่สามารถนำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์มาตรฐานที่มีขายทั่วไปได้เลย ยกเว้นอุปกรณ์ประเภทเครื่องพิมพ์ที่อาจเลือกได้ตามความต้องการว่าเป็น เครื่องพิมพ์สีขาว/ดำ หรือหลายสี จอภาพจะใช้ขนาดใหญ่กี่นิ้ว หรือฮาร์ดดิสก์ที่อาจต้องดูขนาดความต้องการว่าซอฟต์แวร์มีขนาดเท่าใด และฮาร์ดดิสก์จะพอใช้หรือไม่ เพราะในไมโครคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องนั้นเรามักจะบรรจุโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ ไว้หลายชนิด และปริมาณแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่เดิมอาจมากจนกระทั่งพื้นที่ที่เหลือไม่เพียงพอ ต่อการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปใหม่นั้น
           4 ) การใช้งานโปรแกรม
               ในการใช้งานนั้น นอกาจากผู้ใช้จะต้องทำความเข้าใจการทำงานของฮาร์ดแวร์ว่าใช้งานอย่างไรแล้ว รายละเอียดการใช้งานซอฟต์แวร์ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้จะต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนการใช้งาน ส่วนใหญ่จะศึกษาจากคู่มือของโปรแกรมสำเร็จรูปนั้นเพื่อความเข้าใจในความ สามารถก่อน ปกติแล้วคู่มือการใช้งานมาจากเจ้าของผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ซึ่งมักจะอธิบายถึงความสามารถตามฟังก์ชั่นที่มีอยู่ แต่มักจะไม่ค่อยมีตัวอย่างการประยุกต์ใช้ ผู้ใช้ต้องทดลองเอง จึงได้มีผู้ที่มีความรู้ความสามารถในโปรแกรมนั้น ๆ ทำคู่มือการใช้งานในลักษณะการประยุกต์ มีตัวอย่างของงานแสดงให้เห็น ทำให้สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้นและในปัจจุบันนี้มีการทำคู่มือการใช้งาน ในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์ที่เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ทำเป็นซีดีการใช้งาน เป็นต้น ฉะนั้นผู้ใช้งานที่ยังไม่มีประสบการณ์จึงควรเรียนรู้จากคู่มือการใช้งาน ทำความเข้าใจให้ชัดเจนก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง



        1.3 การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
ตอบ  การนำเสนอผลงาน มี 2 รูปแบบ
          การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้มีผู้ชมมีส่วนร่วม ผู้บรรยายสามารถปรับบรรยากาศให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้นได้
          การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัย การมีส่วนรวมของผู้ชม สามารถเลือกใช้เสียงพากย์ที่มีความไพเราะน่าฟังแต่ไม่สามารถปรับบรรยากาศให้ เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น

1.4 เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ  
สื่อนำเสนอ ที่สร้างไว้ ในหัวข้อนี้จะขอแบ่งเครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอไว้ 2 ยุคดังนี้
                 1. ก่อนยุคคอมพิวเตอร์ การนำเสนอมักจะใช้เครื่องมือ 2 ชนิดคือ
                                1.1 เครื่องฉายสไลด์ (Slide projector) การใช้งานค่อนข้างจะยุ่งยาก เนื่องจาก ต้องใช้กล้องถ่ายรูปใส่ฟิล์มพิเศษที่ล้างออกมา แล้วเป็นภาพสำหรับฉายโดยเฉพาะและต้องนำ ฟิล์มมาตัดใส่กรอบพิเศษจึงนำมาเข้าเครื่องฉาย ได้ ข้อดี การฉายสไลด์จะได้ภาพที่สวยงาม และ ชัดเจน ข้อเสีย ต้องฉายในห้องที่ค่อนข้างมืด
                                1.2 เครื่องฉายแผ่นใส (Overhead projector) 00 เป็นเครื่องที่ใช้งานทั่วไปได้มากกว่าแผ่นใสที่ใช้ ตามปกติจะมีขนาดประมาณ 8 นิ้วคูณ 10 นิ้ว และมี สองแบบคือ แบบที่ใช้ปากกา(พิเศษ)เขียน กับแบบ ที่ใช้กับเครื่องถ่ายเอกสาร
                  2. ยุคคอมพิวเตอร์ เมื่อมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ (ปัจจุบัน) เครื่องมือในการนำเสนอผลงาน ก็เปลี่ยนไป เครื่องมือหลักที่ใช้ก็คือ
                                2.1 เครื่องคอมพิวเตอร์
                                2.2 เครื่องฉายภาพจากคอมพิวเตอร์ (Data projector)
                                2.3 เครื่องฉายภาพ 3 มิติ สรุปแนวคิดการออกแบบสื่อนำเสนอข้อมูล

        หนึ่งความคิดต่อหนึ่งสไลด์ไม่นำแนวคิดหลายแนวมาใส่ในสไลด์เดียวในแต่ละสไลด์ ควรมีหัวเรื่องประกอบเนื้อหาในแต่ละสไลด์ ไม่ควรเกิน 7 – 8 บรรทัดเลือกใช้สีตัวอักษร สีภาพ และสีพื้นสไลด์ที่เหมาะสมข้อความภาษาอังกฤษ ควรใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ ผสมตัวพิมพ์เล็กจัดลำดับเนื้อหาให้เหมาะสม ตรวจสอบเนื้อหามีความถูกต้องเลือกใช้ Effect ที่เหมาะสมกับผู้ชม ผู้ฟังหลีกเลี่ยงการใช้สีแดง เขียว หรือเทาไม่ควรเลือก Effect มากกว่า 3 ลักษณะในแต่ละสไลด์ภาพที่นำมาใช้ประกอบ ควรเป็นแนวนอนจะเหมาะสมกว่าแนวตั้งเตรียมสื่อไว้หลากหลายรูปแบบควรระบุที่มา ของเอกสารอ้างอิงให้ชัดเจน

1.5 รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง

ตอบ   รูปแบบการนำเสนอ ปัจจุบันมี 3 รูปแบบ 
          1. การนำเสนอแบบ Slide Presentation มี 3 รูปแบบ
             1.1 โดยใช้โปรแกรม PowerPoint  เป็นโปรเเกรมในการนํา เสนอได้ในหลายรูปเเบบ  ไม่ว่าจะเป็นนําเสนอ เเบบเป็นอักษร ภาพ หรือเสียง โดยตัวโปรเเกรมนั้นสามารถนําสื่อเหล่านี้มาผสมผสานได้ อย่าบงลงตัวเเละมีประสิทธิภาพมากที่สุด  
               ลักษณะการของโปรเเกรม Power Point   การทํางานในรูปของภาพนิ่ง (slide) คือเเผ่นเอกสารเดี่ยวๆที่เเสดงสิ่งต่าง ๆ ตัวอักษร กราฟตาราง รูปภาพ หรืออื่นๆ เเละสามารถเเสดงไลด์ลงบนแผ่นกระดาษหรือเครื่องฉานข้ามศีรษะ   หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์  หรือเครื่องฉาย
             1.2 โดยใช้โปรแกรม ProShow Gold  คือ โปรแกรมสำหรับเรียงลำดับภาพเพื่อนำเสนอแบบมัลติมีเดีย ที่มีความสามารถสร้างผลงานได้ในระดับมืออาชีพ ด้วยเทคนิคพิเศษมากมาย ใช้งานง่าย เหมาะสมต่อการนำเสนอสื่อ การเรียนการสอน การแนะนำอัตชีวประวัติ สามารถเขียนชิ้นงานออกมาในรูปแบบของวีซีดีได้อย่างรวดเร็ว เป็นโปรแกรมที่ช่วยสร้างแผ่นวีซีดีจากรูปภาพต่าง ๆ ที่ทำงานได้รวดเร็ว โดยสามารถทำการใส่เสียงเพลงประกอบได้ด้วย และสามารถแปลงไฟล์เป็นไฟล์ต่าง ๆ ได้ เช่น VCD ,DVD หรือ EXE ฯลฯ ภาพที่ได้จัดอยู่ในคุณภาพดี ซึ่งโปรแกรมอื่นจะใช้เวลาในการทำงานนานพอสมควร
              1.3 โปรแกรม Flip Album เป็นโปรแกรมลักษณะโปรแกรม สำเร็จรูปโดยโปรแกรมที่นิยมสร้างอีบุ๊คหรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถมากมาย คือ มีการชื่อมโยงกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มอื่นๆได้และมีบราวเซอร์ที่ทำ หน้าที่ดึงข้อมูลมาแสดงให้ตามที่ต้องการเหมือนอินเตอร์เน็ตทั่วไป หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวและแบบทดสอบและสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่อง พิมพ์ได้และสามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา
        2. รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน( CAI =Computer Assisted Instruction) คือ โปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีหน้าที่เป็นสื่อการสอนเหมือนแผ่น สไลด์หรือวิดีทัศน์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายในเวลาจำกัดและตรงตามจุดประสงค์ของบทเรียนนั้นๆ โดยมีการใช้โปรแกรมที่นำมาสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2 รูปแบบ ได้แก่
            2.1การใช้โปรแกรม Authorware เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่นิยมนำมาสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมากที่สุด เพราะเนื่องจากว่าเข้าใจง่าย มีการเขียนโปรแกรมที่ใช้ง่าย
            2.2การใช้ระบบการจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ Moodle(Moodle ย่อมาจาก Modular Object-Oriented  Dynamic Learning Environment) คือระบบการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ให้มีบรรยากาศเหมือนเรียนในห้องเรียน หรือระบบจัดคอร์สการเรียนการสอน ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษาหรือผู้สอน
        3.รูปแบบ Social Network หมายถึง สังคมออนไลน์ที่จะช่วยหาเพื่อนบนโลกอินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ สามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมาและได้ทำความรู้จักกับเพื่อนๆคนอื่นๆ และยังสามารถแนะนำตัวเองได้ เช่น Hi5,Bkog,Facebook เป็นต้นและมีรูปแบบ Social Network 3รูปแบบ ได้แก่
             3.1การใช้เว็บบล็อกเพื่อการเรียนการสอน  Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก
             ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
              จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง          
           3.2 การนำเสนอแบบ Web page หมายถึง หน้าหนึ่ง ๆ ของเว็บไซต์ ที่เราเปิดขึ้นมาใช้งาน โดยทั่วไป เว็บเพจส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเอกสาร HTML หรือ XHTML (ซึ่งมักมีนามสกุลไฟล์เป็น htm หรือ html) มีลิงก์สำหรับเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ สามารถใส่รูปภาพและรูปภาพยังสามารถเป็นลิงก์ กล่าวคือสามารถคลิกบนรูปเพื่อกระโดดไปหน้าอื่นได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่แอพเพล็ต (applet) ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็กแสดงภาพเคลื่อนไหว มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือสร้างเสียง ได้อีกด้วย โปรแกรมที่ใช้เปิดดูเว็บเพจ เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ที่เป็นที่นิยม เช่น อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์, Netscape, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, และ ซาฟารี เป็นต้น โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บเพจ เช่น โปรแกรม Macromedia Dreamweaver , PHP & MySQL , Flash Professional เป็นต้น
            3.3  Word press
             Wordpress คือโปรแกรมชนิดหนึ่ง?ที่มีระบบในการช่วยจัดการเนื้อหาบนเว็บ ได้อย่างง่ายดาย หรือที่หลายๆ คนใช้คำว่า Contents Management System (CMS) ซึ่งจริงๆ แล้ว โปรแกรมประเภท CMS มีเยอะแยะ อย่างเช่น PHP Nuke, Joomla, Mambo, OScommerce, Magento เป็นต้น
             Wordpress เป็น CMS ประเภท Blog ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยภาษา PHP และทำงานบนฐานข้อมูล MySQL ภายในสัญญาอนุญาตใช้งานแบบ?General Public License?(GNU) มีเวปไซต์หลักอยู่ที่ http://www.wordpress.org? และมี free hosting สำหรับขอรับบริการฟรีที่ http://www.wordpress.com
              Wordpress เป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย สำหรับคนที่ต้องการมีบล็อกส่วนตัว เป็นที่โปรแกรมที่นิยมกันทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยเราด้วยเ นอกจากการติดตั้งง่ายแล้ว Wordpress ยังมีข้อดีก็คือ เราสามารถหาดาวน์โหลดธีม (Themes) หรือหน้าตาของเว็บรูปแบบต่างๆ


วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

                แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนที่ 7 เรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนนเทศกับการเรียนการสอน

1.    จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท?
คำตอบ 1.ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น    LAN   (Local Area Network)   เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก   อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน   เช่น   ภายในมหาวิทยาลัย อาคารสำนักงาน คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน
              2.ระบบเครือข่ายระดับเมือง  MAN  (Metropolitan Area Network)  เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lanและ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล
                 3. ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง   WAN    (Wide Area Network)  เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมีอัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย

2.    อินทราเน็ต(Inthanet)หมายความว่าอย่างไร?
คำตอบ   อินทราเน็ต (intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โพรโทคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน
3.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต?
คำตอบ  1.  http://www.google.co.th/
              2. http://www.youtube.com/
              3. http://dict.longdo.com
4.     จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็ปไซต์ Google พอสังเขป?
คำตอบ  1.เข้าไปที่www.google.co.th แล้วพิมพ์คำที่ต้องการลงไป ตัวอย่าง พิมพ์ ความหมายของอินเตอร์เน็ต ลงไป
             2. กดปุ่ม ค้นหา แล้วหาข้อมูลที่เราต้องการเลย
5.    Digital Iibrary หมายความว่าอย่างไร?
คำตอบ   Digital library แปล ว่าห้องสมุดดิจิทัลเป็นห้องสมุดที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูล อยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาเอกสารเต็มรูป (Full-text)ได้โดยตรง
6.   จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็ปไซต์ประเภทของการศึกษา?
คำตอบ    http://www.rd.go.th
                http://www.ect.go.th/thai/
               http://www.lib.ru.ac.th/webtoday/free-ecards1.html
               http://www.belovedking.com
               www.lib.ru.ac.th/queen72/
        

                           คำถามท้ายบทเรียนที่ 6  อินเทอร์เน็ต

1. อินเทอร์เน็ต(Internet) หมายความว่าอย่างไร?
ตอบ 
  อินเทอร์เน็ต (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า International network หรือ Inter Connection  network หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์ทั่วโลก เข้าไว้ด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมโยงด้วย TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เดียวกันเป็นข้อกำหนด เพื่อให้เกิดการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน วิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายด้วยโปรโตคอลนี้จะ ช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้
 2
. จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง?
ตอบ   
เป็นขุมคลังสำคัญอันมหิมาของสารสนเทศ มีข่าวสารข้อมูลใน Internet ให้เข้าถึงได้แบบ online/สามารถเข้าถึงสารสนเทศในเวลาใดเวลาหนึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรสาร online ที่ใหญ่ที่สุดก็คือ encyclopedia ที่ใครก็สามารถเข้าถึงสารสนเทศ online ที่ได้ตามที่ต้องการ
3
จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ?
ตอบ   
อินเตอร์เน็ต สามารถทำให้ให้เราค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และได้ข้อมูลที่มีการอัพเดต มีความทันสมัยเราใช้อินเตอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสาร ในการอ่านข่าว และใช้ในการเรียนรู้ข้อมูลอื่นๆๆ ที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลกสามาถนำมาใช้ค้นคว้าหาข้อมูล เพื่อการเรียนได้ง่ายขึ้น หรืออ่านข่าวสาร และทำธุรกิจได้หลายอย่าง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว เช่น การส่ง e-mail แทนการส่งจดหมาย และทำให้เรารู้อะไรได้มากมายบนโลกของเรา

4.
การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร?
 ตอบ   
ย่อมาจากคำ modulator - demodulator หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อการสื่อสารติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในระยะไกลโดยผ่านทางสายโทรศัพท์ เป็นตัวกล้ำและแยกสัญญาณแอนาล็อก (analog) และดิจิทอล (digital) ความเร็วในการทำงานของโมเด็มมีตั้งแต่ 1,200, 2,400, 9,600 และ 14,400 การจะใช้โมเด็มนั้น ต้องใช้ซอฟต์แวร์ร่วมด้วย การรับข้อมูลจากระบบเครือข่ายก็ต้องมีโมเด็ม โมเด็มนั้นอาจจะทำติดมาอยู่ภายในตัวเครื่อง หรือนำมาติดเพิ่มภายหลังก็ได้
5
. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. www. มีประโยชน์อย่างไร?
ตอบ          
1.  สามารถแชร์ข้อมูลใช้ร่วมกันได้  ข้อมูลต่างๆในแต่ละเครื่องภายในระบบ  หากมีผู้อื่นต้องการใช้  คุณสามารถแชร์ให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้ หรือข้อมูลที่เป็นส่วนรวมก็สามารถแชร์ไว้เพื่อให้หลายๆฝ่ายนำไปใช้งานได้  ซึ่งก็จะช่วยทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและช่วยให้การปรับปรุงข้อมูล ในระบบง่ายขึ้นและไม่เกิดความขัดแย้งของข้อมูลด้วย เพราะข้อมูลมีอยู่ชุดเดียว
                 2.  สามารถแชร์อุปกรณ์ต่างๆร่วมกันได้  เช่น เครื่องพิมพ์  สแกนเนอร์  ซิปไดร์ฟ  เป็นต้น  โดยที่ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นมาติดตั้งกับทุกๆเครื่อง  เช่นในบ้านคุณมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 4 เครื่อง  อาจจะซื้อเครื่องพิมพ์มาเพียงตัวเดียวและแชร์เครื่องพิมพ์นั้นเพื่อใช้ร่วม กันได้
                    3.  สามารถใช้โปรแกรมร่วมกันหลายๆเครื่องได้  เช่น  ในห้อง LAB  คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวน คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวนเครื่องในระบบจำนวน  30 เครื่อง  คุณสามารถซื้อโปรแกรมเพียงแค่ 1 ชุดและสามารถใช้งานร่วมกันได้  ซึ่งจะทำให้สะดวกในการดูแลรักษาด้วย
                    4.  การสื่อสารในระบบเครือข่ายผู้ใช้สามารถเชื่อมกับเครื่องอื่นๆในระบบได้  เช่น  อาจจะส่งข้อความจากเครื่องของคุณไปยังเครื่องของคนอื่นๆได้  นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ E - Mail ส่งข้อความข่าวสารต่างๆภายในสำนักงานได้อีก  เช่น  แจ้งกำหนดการต่างๆแจ้งข้อมูลต่างๆให้ทุกๆคนทราบ  โดยไม่ต้องพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อแจกจ่าย  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง
                    5.  การแชร์อินเทอร์เน็ต  ภายในระบบเครือข่ายคุณสามารถแชร์อินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ร่วมกันได้  โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องซื้อ Internet  Account สำหรับทุกๆเครื่องและไม่จำเป็นต้องติดตั้งโมเด็มทุกเครื่อง  ซึ่งก็จะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
                    6. เพื่อการเรียนรู้ การที่คุณได้ทดลองใช้งานระบบเครือข่ายจะทำให้คุณสามารถเรียนรู้และคุ้นเคยกับระบบเครือข่ายมากขึ้นทำให้คุณมีประสบการณ์ในระบบเครือข่ายมากขึ้นและจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องยากเลย
6.
  จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ E-mail?
ตอบ              1. มีความสะดวกรวดเร็ว
                    2. ประหยัดค่าใช้จ่าย
                    3. ไม่จำกัดระยะทาง
                    4. ไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล
                    5. ถ้าเราจะส่งอีเมล์ไม่ว่าจะตอนไหนก็ส่งได้ทุกเวลา
                    6. ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างหลากหลาย

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

                                 
                                   แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนที่ 5 เรื่องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  หมายความว่าอย่างไร ?
คำตอบ  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network)  คือ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้  นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่นเครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น  การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก  เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก  ก็ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ได้กับคนทั่วโลก โดยใช้แอพพลิเคชั่น เช่น เว็บ อีเมลล์ เป็นต้น
2.  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร?
คำตอบ  ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
          ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup)  แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกัน   ก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น 
          การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้
3.  ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร?
คำตอบ เป็นเครือข่ายที่นิยมใช้ภายในสำนักงานอาคารเรียนและองคืกรที่อยู่ในบริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกันเป็นเครือข่ายระยะใกล้การเชื่อมต่อสามารถใช้สายเคเบิล สายโคเอ็กซ์ หรือสายใยแก้ว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
4.  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร?
คำตอบ  อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก
5.  ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการหมายความว่าอย่างไร?
คำตอบ  ระบบปฏิบัติการ หรือ OS (Operating System) ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของโปรแกรมที่รันบนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์มีหลายชนิด เช่น หน่วยความจำ, ฮาร์ดดิสก์, จอภาพ, คีย์บอร์ด, และเมาส์ เป็น ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์คงจะรับโปรแกรมมากกว่าหนึ่งโปรแกรมไม่ได้ เพราะแต่ละโปรแกรมอาจแย่งใช้ทรัพยากรดังกล่าวจนอาจทำให้ระบบล่มได้ระบบเครือข่าย ก็เหมือนกับระบบคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS (network Operting System) เพื่อทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย และการเข้าใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการทั้งสองประเภท เพื่อจะทำหน้าที่ทั้งจัดการทรัพยากรภายในคอมพิวเตอร์และในระบบเครือข่าย แต่โดยส่วนใหญ่ระบบปฏิบัติการทั้งสองประเภทจะอยู่ในตัวเดียวกัน เมื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการเสริมแล้วก็เพียงติดตั้งส่วนที่เป็นเครือข่ายเท่านั้น
6.  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง?
คำตอบ 1. ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1.1 LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น
1.2 MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง
1.3 WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือ
2. ใช้ลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
2.1 Peer-to-Peer Network หรือเครือข่ายแบบเท่าเทียม
2.2 Client-Server Network หรือเครือข่ายแบบผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
3. ใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเกณฑ์ 
3.1 อินเทอร์เน็ต (Internet) เครือข่ายสาธารณะ
3.2 อินทราเน็ต (Intranet) หรือเครือข่ายส่วนบุคคล
3.3 เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) หรือเครือข่ายร่วม

7.   รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง?
คำตอบ  ของการเชื่อมต่อระบบเครือ รูปแบบข่ายคอมพิวเตอร์ (Topology)
1. แบบดาว (Star Topology) เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า ฮับ ( Hub ) ซึ่งเป็นจุดกลางในการติดต่อ เป็นเครือข่ายที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันเพราะติดตั้งและ ดูแลรักษาระบบง่าย ราคาวัสดุอุปกรณ์ก็ไม่แพง ข้อดีคือ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งมีปัญหา จะไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องอื่นๆ ในเครือข่าย ข้อเสีย ถ้า Hub เสียจะใช้งานไม่ได้ทั้งระบบ ใช้สายสัญญาณติดตั้งมากกว่าแบบอื่น
2. แบบวงแหวน (Ring Topology)เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเชื่อมต่อกันเป็นลักษณะแบบวงแหวน ข้อดี คือ สามารถเชื่อมได้ระยะทางที่ไกลกว่าแบบอื่นๆ ข้อเสียคือ ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีปัญหา จะทำให้ระบบหยุดการทำงาน
 3. แบบบัส (Bus Topology) เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องต่อเชื่อมอยู่บนสายสัญญาณเดียวกัน เป็นการเชื่อมต่อสายแบบเส้นตรง จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรก แล้วโยงสายไปยังเครื่องที่ 2 3 ... ตามลำดับในลักษณะการต่อแบบอนุกรม การเชื่อมแบบนี้ทำได้ง่าย แต่มีข้อเสีย คือ ถ้ามีปัญหาที่สายสัญญาณเส้นใดเส้นหนึ่ง จะส่งผลกระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

                                        แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนที่4 เรื่อง ซอฟต์แวร์ (Software)
1. ซอฟต์แวร์ คืออะไร และทำหน้าที่อะไร?
        ตอบ ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้.
2. ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง?
          ตอบ   2 ประเภท 1. ซอฟต์แวร์ระบบ  2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์.
3. ซอฟต์แวร์ระบบคืออะไร?
        ตอบ ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์.
4. ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร
        ตอบ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย .
5. ซอฟต์แวร์เฉพาะงานคืออะไร?
      ตอบ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิงเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง เช่น การตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ การจัด เรียงข้อมูล ในฮาร์ดดิสก์เป็นต้น.
6. ซอฟต์แวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร?
       ตอบ ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามลำดับขั้นตอน การทำงานที่เขียนขึ้นด้วยภาษาของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์  จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้ .
7. ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร?
        ตอบ ซอฟต์แวร์ (Software) คือ โปรแกรมคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน โดยโปรแกรมจะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ หลังจากนั้นเครื่องจะทำงานด้วยตนเองตามโปรแกรมภายใต้การควบคุมของหน่วยควบคุม (Control Unit) .
8. ระบบปฏิบัติการคืออะไร ทำหน้าที่อะไร?
       ตอบ ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กันระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น.

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

                            แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนที่ 3. เรื่องคอมพิวเตอร์และและระบบคอมพิวเตอร์
1.คอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร ? และมีประโยชน์อย่างไร?
       ตอบ  เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ รวมทั้งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งเป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง
      ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
       1.มีความเร็วในการทำงานสูง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบันสามารถประมวณคำสั่งในช่วงเวลา 1 วินาที่ได้มากกว่าหนึ่งร้อยล้านคำสั่งจึงใช้ในงานคำนวณต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การฝาก ถอนเงินจากตู้เอทีเอ็ม เป้นต้น
       2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสัปดาห์ หรือเป็นปี โอกาสเครื่องเสียน้อย ใช้แทนกำลังคนได้มากมาย
       3. มีความถูกต้องแม่นยำตามโปรแกรมที่สั่งงานและข้อมูลที่ใช้
       4. เก้บข้อมุลได้มาก ไม่ต้องใช้เอกสารและตู้เก็บ
       5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วและช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน
2. คอมพิวเตอร์มีที่มาอย่างไร?
       ตอบ   คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนตามคำสั่งของโปรแกรม มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" ขั้นตอนการทำงานจะประกอบด้วย การรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ แล้วทำการคำนวณ เคลื่อนย้ายเปรียบเทียบ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
3. ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
      ตอบ1. หน่วยรับข้อมูลเข้า Input unit  เป็นวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาเชื่อมต่อทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบเพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการทั้งวัสดุเกียวข้อง
            2. หน่วยปรมวลผลกลาง ทำหน้าที่เกียวกับการคำนวณทั้งทางตรรกและคณิตศาสตร์ 
            3.หน่วยความจำ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งไปประมวณผลยังหน่วยผลประมวณกลาง เพื่อเตรียมส่งต่อไป
            4. หน่วยแสดงผล ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวณหรือผ่านการคำนวณแล้ว
            5. อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น
4. ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร ? ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร?
       ตอบ   เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network)  คือ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้  นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่นเครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น  การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก  เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก  ก็ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ได้กับคนทั่วโลก โดยใช้แอพพลิเคชั่น เช่น เว็บ อีเมลล์ เป็นต้น
        1.ฮาร์ดแวร์( Hardware )หรือส่วนตัวเครื่อง
        2. ซอฟต์แวร์( Software)
        3. ข้อมูล ( Data)
        4. บุคลากร (people)
5. ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไรบ้าง?
      ตอบ ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆ ที่เราสามารถสัมผัสได้และจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน 
         1. ส่วนประมวณผล( processor)
         2. ส่วนความจำ  (Memory)
         3. อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก(Input Output Devices)
         4. อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล(Storage Device)
6. ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์?
      ตอบ ซีพียู (CPU) ย่อมาจากคำว่า Central Processing Unit หรือหน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่หลักในการคิด คำนวณ ประมวลผลข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนวณทางด้านตัวเลข บวก ลบ คูณ หาร หรือการคำนวณทางด้านตรรกะ (เชิงเปรียบเทียบข้อมูล) เมื่อคอมพิวเตอร์มีการรับข้อมูลใดๆ เข้ามาจัดเก็บหรือพักไว้ในหน่วยความจำแล้วก็จะถูกส่งต่อให้ซีพียูนั้นทำการประมวลผลก่อนเสมอ
7. หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม (RAM) และแบบรอม(ROM) ของหน่วยคว่มจำหลักแตกต่างกันอย่างไร?
        ตอบ RAM ย่อมาจาก (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ กข้อมูล (Output)    = ROM =
   ใช้เก็บข้อมูลซึ่งมักเป็นโปรแกรม จะเก็บแบบถาวร คือข้อมูลยังอยู่โดยไม่ต้องมีไฟเลี้ยง มักเขียนครั้งเดียวเพื่อไว้อ่านครั้งต่อๆ ไปโดยจะเขียนทับซ้ำไม่ได้ในการทำงานปกติ ยกเว้นสั่งเขียนผ่านอุปกรณ์เขียน เมื่อจะแก้หรือเปลี่ยนข้อมูลใหม่ 
   มักจะใช้เพื่อเก็บโปรแกรมเริ่มต้นระบบ เมื่อเปิดสวิตซ์เครื่อง เช่น BIOS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือรวมถึงใช้เก็บโปรแกรมทำงานทั้งหมด ในอุปกรณ์ที่ต้องการเก็บโปรแกรมทำงานไว้ในเครื่องแบบถาวร เช่น เครื่องคิดเลข 
   ROM * คุณสมบัติคือ เก็บข้อมูลแบบถาวร แต่ความเร็วต่ำ ขนาดไม่ใหญ่มากนัก และไม่มีการแก้ไขข้อมูลบ่อย
8. จานจดบันทึกข้อมูล(Hard Disk) ประกอบด้วยอะไร ทำหน้าที่อย่างไร?
     ตอบ จานจดบันทึกข้อมูลแบบแข็ง ประกอบด้วยแผ่นจากแม่เหล็กตั้งแต่หนึ่งแผ่นจนถึงหลายแผ่น แหละเครื่องขับจาน เป็นส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง มีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆ
 9. จงบอกความหมายของคำต่อไปนี้ เมกะไบร์ กิกะไบร์ พิกเซล  จิกะเฮิร์ซ?
        ตอบ เมกะไบต์ ( megabyte) เป็นหน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage) ในคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ เมกะไบต์นิยมเขียนย่อเป็น MB (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต) หรือบางครั้งอาจพูดหรือเขียนเป็น เม็ก หรือ meg
         กิกะไบต์[1][2] หรือ จิกะไบต์[1][2] (gigabyte) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์
จิกะไบต์ มีขนาดอ้างอิงหลัก ๆ ได้สองอย่างคือ
จุดภาพ หรือ พิกเซล (อังกฤษpixel) เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือ จุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย และแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดภาพ หรือบางครั้งแทนว่าความละเอียด (ความคมชัด) ที่แตกต่างกันไป จึงใช้ในการบอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้
จอภาพที่มีจำนวนพิกเซลมาก จะมีความละเอียดของภาพมาก โดยมากจะระบุจำนวนพิกเซลแนวนอน x แนวตั้ง เช่น 1366 x 768 พิกเซล
คำว่า "พิกเซล" (pixel) มาจากคำว่า "พิกเจอร์" (picture) ที่แปลว่า รูปภาพ และ "เอเลเมนต์" (element) ที่แปลว่า องค์ประกอบ
เฮิรตซ์(  hertz ย่อว่า Hz) เป็นหน่วย SI ของค่าความถี่ โดย 1 Hz คือความถี่ที่เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อวินาที (1/s) หรือ :1 Hz = 1/S ดังนั้น 50 Hz หมายถึงมีความถี่เท่ากับ 50 ครั้งต่อ 1 วินาที[1]
หน่วยความถี่อื่นๆ ได้แก่ เรเดียนต่อวินาที (radian/second, rad/s) และ รอบต่อนาที (revolutions per minute, RPM)
hertz มาจากชื่อนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ชื่อ ไฮน์ริช เฮิร์ตซ์ (Heinrich Rudolf Hertz) เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้าน แม่เหล็กไฟฟ้า
หน่วย hertz ได้กำหนดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) แล้วเริ่มมาใช้แทน หน่วย รอบต่อวินาที (cycles per second หรือ cps) ในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) หน่วย Hz ได้ใช้ทดแทนการใช้ cps แทบทั้งหมด
10. จอภาพ แป้นพิมพ์ และเมาส์ ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์
        ตอบ จอภาพคือ เป็นอุปกรณ์แสดงข้อมูลผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแสดงผลได้ทั้งตังหนังสือภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว โดยทั่งไปนิยมใช้สี
        แป้นพิมพ์ คือ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับเข้าข้อมูลจากการกดแป้นพิมพ์เพื่อส่งต่อคอมพิวเตอร์แป้นพิมพ์ที่นิยมใช้จะมี 101 แป้นและแยกเป็นอักขระและตัวเลขออกจากกัน
        เมาส์ คือ เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายตัวหนู ส่วนของสายสัญญาณจากตัวอุปกรณ์ที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายส่วนหางหนู เราสามารถใช้เมาส์ในการควบคุมตัวชี้ ที่ปรากฏบนหน้าจอภาพให้ความสามารถไปสู้ตำแหล่งต่างๆ

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

                           แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนที่ 2.  เรื่องระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1. คำว่า" ระบบ" และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร?
            ตอบ  ระบบ คือ ระเบียบเกี่ยวกับการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานเป็นอันเดียวกันตามหลักเหตุผลทางวิชาการ หรือหมายถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งมีความสัมพันธ์ ประสานเข้ากัน โดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระบบ(System) คือ กระบวนการต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันและมีความสัมพันธ์กันระหว่างกระบวนการเหล่านั้น และเชื่อมต่อกันเพื่อทำงานใดงานหนึ่งให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้

               วิธีการเชิงระบบหรือเทคนิคเชิงระบบ ( System Apporach ) หมายถึง วิธีการนำเอาความรู้เรื่องระบบเข้ามาเป็นกรอบช่วยในการค้นหาปัญหา กำหนดวิธีการแก้ปัญหาและใช้แนวทางความคิดเชิงระบบช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหา           
                                                           
   2. องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร?
               ตอบ 1.  ปัจจัยนำเข้า  Input   หมายถึง  วัตถุสิ่งของต่างๆ  รวมถึงเหตุการณ์ สถานการณ์ วัตถุประสงค์  ปัญหา  ความต้องการ  ข้อกำหนด  กฏเกณฑ์  อันเป็นต้นเหตุของประเด็นปัญหา
                        2. กระบวนการ (process)  หมายถึง  วิธีการ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน  การสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาและปัจจัยนำเข้าให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือความต้องการ
                        3. ผลลัพธ์ (Output) หมายถึง  ผลงานที่ได้จากระบวนการจัดการวัตถุดิบหรือปัจจัยนำเข้าผลงานที่ได้รับอาจจะเป็นวิธีการหรือชิ้นงานก็ได้  ซึ้งสามารถประเมิลผลและตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ  (feedback) ได้
    3. ระบบสารสนเทศ  หมายถึงอะไร?
            ตอบ   ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่ เป็นประโยชน์สูง สุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการตัดสินใจของบุคคลระดับบริหาร
ขบวนการที่ทำให้เกิดข่าวสารสารสนเทศนี้ เรียกว่า การประมวลผลผลสารสนเทศ (Information Processing) และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอีเล็กทรอนิกส์ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT)
    4. องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ  ได้แก่อะไร?
            ตอบ  ระบบการคิด หมายถึง  กระบวนการและขั้นตอนในการจัดลำดับ  จำแนก แจกแจง และจัดหมวดหมู่ ข้อมูลต่างๆ เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและเผยแพร่  ระบบการคิดจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของงานสารสนเทศทั้งระดับพื้นฐานและระดับสูงที่มี่ความยาวสลับซับซ้อนจนต้องใช้ทักษะการจัดการและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง เข้ามาใช้ในการดำเนินงาน
                      ระบบเครื่องมือ  หมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่นำมาใช้ในการรวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่ สารสนเทศให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการจัดการสารสนเทศที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในองค์กร หน่วยงาน หรืองานธุรกรรมต่างๆ แทบทุกวงการ จนทำให้คอมพิวเตอร์และข่ายอินเตอร์เน็ตกลายเป็นสัญลักษณ์ของสารสนเทศ
     5. สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร?
              ตอบ   ด้านจุดมุ่งหมาย ได้แก่ ข้อมูล ( data) สารสนเทศ (Information) ครามรู้ (knowledge) ปัญญา (wisdom) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
                         ด้านขั้นตอน ได้แก่ ข้อมูลนำเข้า (Input) กระบวนการ (process) และผลลัพธ์ (Output) การทำงานจะเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนข้อมูลดิบที่เข้ามา
                         ระบบสารสนเทศทั่งไป (Information process)  ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล(Hardware) ข้อมูล (Data) สารสนเทศ (Information) โปรแกรมซอฟต์แวร์ ( Software)
     6. โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร?
               ตอบ   มี 3 ขั้นตอน
                           1. การวิเคราะห์ระบบ (System   Analysis)
                           2. การสั่งเคราะห์ระบบ (System Synthesis)
                           3. การสร้างแบบจำลอง (Construct a Model)
      7. ระบบสารสนเทศระดับบุคคล  ระดับกลุ่ม  กับระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร?
              ตอบ ระดับบุคคล คือ ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคลในหน้าที่รับผิดชอบ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดเล็กลง ราคาถูก แต่มีความสามารถในการประมวลผลด้วยความเร็วสูงขึ้น 
                      ระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เตรียมสภาวะแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยทำเป้าหม้ายของธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผล มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
                      ระดับองค์กร คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก  โดยใช้ข้อมูลที่เกียวข้องร่วมกันด้วยวิธีส่งผ่านถึงกันจากแผนกหนึ่งข้ามไปอีกแผนกหนึ่ง
      8. ข้อมูลและความรู้ คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
               ตอบ  ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งหาทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ มีคุณลักษณะเป็นวัตถุสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ ทั้งที่เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
                          ความรู้ คือ เป็นสภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระของเนื้อสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปด้าย
       9. การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสานสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร?
               ตอบ   1. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
                           - การรวบรวมข้อมูล
                           - การบำรุงรักษาและผลประมวลผลข้อมูล
                           - การจัดการข้อมูล 
                           - การควบคุมข้อมูล
                           - การสร้างสารสนเทศ
                            2. วิธีการเก็บข้อมูล
                            - การสำรวจด้วยแบบสอบถาม
                            - การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
      10. จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกัน?
                 ตอบ  คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ้งใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกันให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนกันได้โดยใช้สายสื่อสารข้อมูลที่ทำจากทองแดงหรือเส้นใยแก้วนำแสงนิยมแบ่งเครือข่ายตามขนาดพื้นที่และจำนานเครื่องที่ใช้งาน  ได้แก่ แลน LAN แวน WAN อินเตอร์เน็ต (Internet)