1. คำว่า" ระบบ" และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร?
ตอบ ระบบ คือ ระเบียบเกี่ยวกับการรวมสิ่งต่างๆ
ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานเป็นอันเดียวกันตามหลักเหตุผลทางวิชาการ
หรือหมายถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งมีความสัมพันธ์ ประสานเข้ากัน
โดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระบบ(System) คือ กระบวนการต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันและมีความสัมพันธ์กันระหว่างกระบวนการเหล่านั้น
และเชื่อมต่อกันเพื่อทำงานใดงานหนึ่งให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้
วิธีการเชิงระบบหรือเทคนิคเชิงระบบ (
System Apporach ) หมายถึง
วิธีการนำเอาความรู้เรื่องระบบเข้ามาเป็นกรอบช่วยในการค้นหาปัญหา
กำหนดวิธีการแก้ปัญหาและใช้แนวทางความคิดเชิงระบบช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหา
2. องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร?
ตอบ 1.
ปัจจัยนำเข้า Input หมายถึง
วัตถุสิ่งของต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ สถานการณ์ วัตถุประสงค์
ปัญหา ความต้องการ ข้อกำหนด กฏเกณฑ์
อันเป็นต้นเหตุของประเด็นปัญหา
2.
กระบวนการ (process) หมายถึง
วิธีการ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน การสร้างสรรค์
การแก้ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาและปัจจัยนำเข้าให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือความต้องการ
3.
ผลลัพธ์ (Output) หมายถึง
ผลงานที่ได้จากระบวนการจัดการวัตถุดิบหรือปัจจัยนำเข้าผลงานที่ได้รับอาจจะเป็นวิธีการหรือชิ้นงานก็ได้
ซึ้งสามารถประเมิลผลและตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ได้
3. ระบบสารสนเทศ หมายถึงอะไร?
ตอบ
ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ
ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่ เป็นประโยชน์สูง สุด
เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการตัดสินใจของบุคคลระดับบริหาร
ขบวนการที่ทำให้เกิดข่าวสารสารสนเทศนี้
เรียกว่า การประมวลผลผลสารสนเทศ (Information Processing) และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอีเล็กทรอนิกส์ว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT)
4. องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่อะไร?
ตอบ ระบบการคิด หมายถึง
กระบวนการและขั้นตอนในการจัดลำดับ จำแนก แจกแจง และจัดหมวดหมู่
ข้อมูลต่างๆ เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและเผยแพร่
ระบบการคิดจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของงานสารสนเทศทั้งระดับพื้นฐานและระดับสูงที่มี่ความยาวสลับซับซ้อนจนต้องใช้ทักษะการจัดการและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง
เข้ามาใช้ในการดำเนินงาน
ระบบเครื่องมือ หมายถึง
วัสดุอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่นำมาใช้ในการรวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่
สารสนเทศให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการจัดการสารสนเทศที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในองค์กร
หน่วยงาน หรืองานธุรกรรมต่างๆ แทบทุกวงการ
จนทำให้คอมพิวเตอร์และข่ายอินเตอร์เน็ตกลายเป็นสัญลักษณ์ของสารสนเทศ
5. สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน
และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร?
ตอบ ด้านจุดมุ่งหมาย ได้แก่ ข้อมูล ( data)
สารสนเทศ (Information) ครามรู้ (knowledge)
ปัญญา (wisdom) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
ด้านขั้นตอน ได้แก่ ข้อมูลนำเข้า (Input)
กระบวนการ (process) และผลลัพธ์ (Output)
การทำงานจะเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนข้อมูลดิบที่เข้ามา
ระบบสารสนเทศทั่งไป (Information process)
ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล(Hardware)
ข้อมูล (Data) สารสนเทศ (Information) โปรแกรมซอฟต์แวร์ ( Software)
6. โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร?
ตอบ
มี 3 ขั้นตอน
1. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
2. การสั่งเคราะห์ระบบ (System Synthesis)
3. การสร้างแบบจำลอง (Construct a Model)
7. ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระดับกลุ่ม
กับระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร?
ตอบ ระดับบุคคล คือ ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคลในหน้าที่รับผิดชอบ
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดเล็กลง ราคาถูก
แต่มีความสามารถในการประมวลผลด้วยความเร็วสูงขึ้น
ระดับกลุ่ม คือ
ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เตรียมสภาวะแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
โดยทำเป้าหม้ายของธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผล มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
ระดับองค์กร คือ
ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม
เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก
โดยใช้ข้อมูลที่เกียวข้องร่วมกันด้วยวิธีส่งผ่านถึงกันจากแผนกหนึ่งข้ามไปอีกแผนกหนึ่ง
8. ข้อมูลและความรู้ คืออะไร
มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร?
ตอบ
ข้อมูล คือ
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งหาทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้
มีคุณลักษณะเป็นวัตถุสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ ทั้งที่เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ความรู้ คือ
เป็นสภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระของเนื้อสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปด้าย
9. การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสานสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร?
ตอบ
1. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
- การรวบรวมข้อมูล
- การบำรุงรักษาและผลประมวลผลข้อมูล
- การจัดการข้อมูล
- การควบคุมข้อมูล
- การสร้างสารสนเทศ
2. วิธีการเก็บข้อมูล
- การสำรวจด้วยแบบสอบถาม
- การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
10. จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกัน?
ตอบ
คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ้งใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกันให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนกันได้โดยใช้สายสื่อสารข้อมูลที่ทำจากทองแดงหรือเส้นใยแก้วนำแสงนิยมแบ่งเครือข่ายตามขนาดพื้นที่และจำนานเครื่องที่ใช้งาน
ได้แก่ แลน LAN แวน WAN อินเตอร์เน็ต
(Internet)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น