วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

                                 
                                   แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนที่ 5 เรื่องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  หมายความว่าอย่างไร ?
คำตอบ  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network)  คือ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้  นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่นเครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น  การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก  เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก  ก็ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ได้กับคนทั่วโลก โดยใช้แอพพลิเคชั่น เช่น เว็บ อีเมลล์ เป็นต้น
2.  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร?
คำตอบ  ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
          ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup)  แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกัน   ก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น 
          การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้
3.  ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร?
คำตอบ เป็นเครือข่ายที่นิยมใช้ภายในสำนักงานอาคารเรียนและองคืกรที่อยู่ในบริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกันเป็นเครือข่ายระยะใกล้การเชื่อมต่อสามารถใช้สายเคเบิล สายโคเอ็กซ์ หรือสายใยแก้ว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
4.  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร?
คำตอบ  อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก
5.  ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการหมายความว่าอย่างไร?
คำตอบ  ระบบปฏิบัติการ หรือ OS (Operating System) ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของโปรแกรมที่รันบนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์มีหลายชนิด เช่น หน่วยความจำ, ฮาร์ดดิสก์, จอภาพ, คีย์บอร์ด, และเมาส์ เป็น ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์คงจะรับโปรแกรมมากกว่าหนึ่งโปรแกรมไม่ได้ เพราะแต่ละโปรแกรมอาจแย่งใช้ทรัพยากรดังกล่าวจนอาจทำให้ระบบล่มได้ระบบเครือข่าย ก็เหมือนกับระบบคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS (network Operting System) เพื่อทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย และการเข้าใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการทั้งสองประเภท เพื่อจะทำหน้าที่ทั้งจัดการทรัพยากรภายในคอมพิวเตอร์และในระบบเครือข่าย แต่โดยส่วนใหญ่ระบบปฏิบัติการทั้งสองประเภทจะอยู่ในตัวเดียวกัน เมื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการเสริมแล้วก็เพียงติดตั้งส่วนที่เป็นเครือข่ายเท่านั้น
6.  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง?
คำตอบ 1. ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1.1 LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น
1.2 MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง
1.3 WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือ
2. ใช้ลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
2.1 Peer-to-Peer Network หรือเครือข่ายแบบเท่าเทียม
2.2 Client-Server Network หรือเครือข่ายแบบผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
3. ใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเกณฑ์ 
3.1 อินเทอร์เน็ต (Internet) เครือข่ายสาธารณะ
3.2 อินทราเน็ต (Intranet) หรือเครือข่ายส่วนบุคคล
3.3 เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) หรือเครือข่ายร่วม

7.   รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง?
คำตอบ  ของการเชื่อมต่อระบบเครือ รูปแบบข่ายคอมพิวเตอร์ (Topology)
1. แบบดาว (Star Topology) เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า ฮับ ( Hub ) ซึ่งเป็นจุดกลางในการติดต่อ เป็นเครือข่ายที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันเพราะติดตั้งและ ดูแลรักษาระบบง่าย ราคาวัสดุอุปกรณ์ก็ไม่แพง ข้อดีคือ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งมีปัญหา จะไม่ส่งผลกระทบต่อเครื่องอื่นๆ ในเครือข่าย ข้อเสีย ถ้า Hub เสียจะใช้งานไม่ได้ทั้งระบบ ใช้สายสัญญาณติดตั้งมากกว่าแบบอื่น
2. แบบวงแหวน (Ring Topology)เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเชื่อมต่อกันเป็นลักษณะแบบวงแหวน ข้อดี คือ สามารถเชื่อมได้ระยะทางที่ไกลกว่าแบบอื่นๆ ข้อเสียคือ ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีปัญหา จะทำให้ระบบหยุดการทำงาน
 3. แบบบัส (Bus Topology) เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องต่อเชื่อมอยู่บนสายสัญญาณเดียวกัน เป็นการเชื่อมต่อสายแบบเส้นตรง จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรก แล้วโยงสายไปยังเครื่องที่ 2 3 ... ตามลำดับในลักษณะการต่อแบบอนุกรม การเชื่อมแบบนี้ทำได้ง่าย แต่มีข้อเสีย คือ ถ้ามีปัญหาที่สายสัญญาณเส้นใดเส้นหนึ่ง จะส่งผลกระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

                                        แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนที่4 เรื่อง ซอฟต์แวร์ (Software)
1. ซอฟต์แวร์ คืออะไร และทำหน้าที่อะไร?
        ตอบ ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้.
2. ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง?
          ตอบ   2 ประเภท 1. ซอฟต์แวร์ระบบ  2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์.
3. ซอฟต์แวร์ระบบคืออะไร?
        ตอบ ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์.
4. ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร
        ตอบ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย .
5. ซอฟต์แวร์เฉพาะงานคืออะไร?
      ตอบ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิงเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง เช่น การตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ การจัด เรียงข้อมูล ในฮาร์ดดิสก์เป็นต้น.
6. ซอฟต์แวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร?
       ตอบ ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามลำดับขั้นตอน การทำงานที่เขียนขึ้นด้วยภาษาของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์  จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้ .
7. ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร?
        ตอบ ซอฟต์แวร์ (Software) คือ โปรแกรมคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน โดยโปรแกรมจะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ หลังจากนั้นเครื่องจะทำงานด้วยตนเองตามโปรแกรมภายใต้การควบคุมของหน่วยควบคุม (Control Unit) .
8. ระบบปฏิบัติการคืออะไร ทำหน้าที่อะไร?
       ตอบ ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กันระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น.

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

                            แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนที่ 3. เรื่องคอมพิวเตอร์และและระบบคอมพิวเตอร์
1.คอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร ? และมีประโยชน์อย่างไร?
       ตอบ  เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ รวมทั้งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งเป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง
      ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
       1.มีความเร็วในการทำงานสูง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบันสามารถประมวณคำสั่งในช่วงเวลา 1 วินาที่ได้มากกว่าหนึ่งร้อยล้านคำสั่งจึงใช้ในงานคำนวณต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การฝาก ถอนเงินจากตู้เอทีเอ็ม เป้นต้น
       2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสัปดาห์ หรือเป็นปี โอกาสเครื่องเสียน้อย ใช้แทนกำลังคนได้มากมาย
       3. มีความถูกต้องแม่นยำตามโปรแกรมที่สั่งงานและข้อมูลที่ใช้
       4. เก้บข้อมุลได้มาก ไม่ต้องใช้เอกสารและตู้เก็บ
       5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วและช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน
2. คอมพิวเตอร์มีที่มาอย่างไร?
       ตอบ   คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนตามคำสั่งของโปรแกรม มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" ขั้นตอนการทำงานจะประกอบด้วย การรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ แล้วทำการคำนวณ เคลื่อนย้ายเปรียบเทียบ จนกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
3. ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
      ตอบ1. หน่วยรับข้อมูลเข้า Input unit  เป็นวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาเชื่อมต่อทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบเพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการทั้งวัสดุเกียวข้อง
            2. หน่วยปรมวลผลกลาง ทำหน้าที่เกียวกับการคำนวณทั้งทางตรรกและคณิตศาสตร์ 
            3.หน่วยความจำ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งไปประมวณผลยังหน่วยผลประมวณกลาง เพื่อเตรียมส่งต่อไป
            4. หน่วยแสดงผล ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวณหรือผ่านการคำนวณแล้ว
            5. อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น
4. ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร ? ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร?
       ตอบ   เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network)  คือ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้  นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่นเครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น  การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก  เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก  ก็ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ได้กับคนทั่วโลก โดยใช้แอพพลิเคชั่น เช่น เว็บ อีเมลล์ เป็นต้น
        1.ฮาร์ดแวร์( Hardware )หรือส่วนตัวเครื่อง
        2. ซอฟต์แวร์( Software)
        3. ข้อมูล ( Data)
        4. บุคลากร (people)
5. ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไรบ้าง?
      ตอบ ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆ ที่เราสามารถสัมผัสได้และจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน 
         1. ส่วนประมวณผล( processor)
         2. ส่วนความจำ  (Memory)
         3. อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก(Input Output Devices)
         4. อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล(Storage Device)
6. ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์?
      ตอบ ซีพียู (CPU) ย่อมาจากคำว่า Central Processing Unit หรือหน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่หลักในการคิด คำนวณ ประมวลผลข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนวณทางด้านตัวเลข บวก ลบ คูณ หาร หรือการคำนวณทางด้านตรรกะ (เชิงเปรียบเทียบข้อมูล) เมื่อคอมพิวเตอร์มีการรับข้อมูลใดๆ เข้ามาจัดเก็บหรือพักไว้ในหน่วยความจำแล้วก็จะถูกส่งต่อให้ซีพียูนั้นทำการประมวลผลก่อนเสมอ
7. หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม (RAM) และแบบรอม(ROM) ของหน่วยคว่มจำหลักแตกต่างกันอย่างไร?
        ตอบ RAM ย่อมาจาก (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ กข้อมูล (Output)    = ROM =
   ใช้เก็บข้อมูลซึ่งมักเป็นโปรแกรม จะเก็บแบบถาวร คือข้อมูลยังอยู่โดยไม่ต้องมีไฟเลี้ยง มักเขียนครั้งเดียวเพื่อไว้อ่านครั้งต่อๆ ไปโดยจะเขียนทับซ้ำไม่ได้ในการทำงานปกติ ยกเว้นสั่งเขียนผ่านอุปกรณ์เขียน เมื่อจะแก้หรือเปลี่ยนข้อมูลใหม่ 
   มักจะใช้เพื่อเก็บโปรแกรมเริ่มต้นระบบ เมื่อเปิดสวิตซ์เครื่อง เช่น BIOS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือรวมถึงใช้เก็บโปรแกรมทำงานทั้งหมด ในอุปกรณ์ที่ต้องการเก็บโปรแกรมทำงานไว้ในเครื่องแบบถาวร เช่น เครื่องคิดเลข 
   ROM * คุณสมบัติคือ เก็บข้อมูลแบบถาวร แต่ความเร็วต่ำ ขนาดไม่ใหญ่มากนัก และไม่มีการแก้ไขข้อมูลบ่อย
8. จานจดบันทึกข้อมูล(Hard Disk) ประกอบด้วยอะไร ทำหน้าที่อย่างไร?
     ตอบ จานจดบันทึกข้อมูลแบบแข็ง ประกอบด้วยแผ่นจากแม่เหล็กตั้งแต่หนึ่งแผ่นจนถึงหลายแผ่น แหละเครื่องขับจาน เป็นส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง มีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆ
 9. จงบอกความหมายของคำต่อไปนี้ เมกะไบร์ กิกะไบร์ พิกเซล  จิกะเฮิร์ซ?
        ตอบ เมกะไบต์ ( megabyte) เป็นหน่วยวัดปริมาณสารสนเทศหรือความจุของหน่วยเก็บ (storage) ในคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ เมกะไบต์นิยมเขียนย่อเป็น MB (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต) หรือบางครั้งอาจพูดหรือเขียนเป็น เม็ก หรือ meg
         กิกะไบต์[1][2] หรือ จิกะไบต์[1][2] (gigabyte) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เช่น ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำหรือฮาร์ดดิสก์
จิกะไบต์ มีขนาดอ้างอิงหลัก ๆ ได้สองอย่างคือ
จุดภาพ หรือ พิกเซล (อังกฤษpixel) เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือ จุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย และแต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาแน่นของจุดภาพ หรือบางครั้งแทนว่าความละเอียด (ความคมชัด) ที่แตกต่างกันไป จึงใช้ในการบอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้
จอภาพที่มีจำนวนพิกเซลมาก จะมีความละเอียดของภาพมาก โดยมากจะระบุจำนวนพิกเซลแนวนอน x แนวตั้ง เช่น 1366 x 768 พิกเซล
คำว่า "พิกเซล" (pixel) มาจากคำว่า "พิกเจอร์" (picture) ที่แปลว่า รูปภาพ และ "เอเลเมนต์" (element) ที่แปลว่า องค์ประกอบ
เฮิรตซ์(  hertz ย่อว่า Hz) เป็นหน่วย SI ของค่าความถี่ โดย 1 Hz คือความถี่ที่เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อวินาที (1/s) หรือ :1 Hz = 1/S ดังนั้น 50 Hz หมายถึงมีความถี่เท่ากับ 50 ครั้งต่อ 1 วินาที[1]
หน่วยความถี่อื่นๆ ได้แก่ เรเดียนต่อวินาที (radian/second, rad/s) และ รอบต่อนาที (revolutions per minute, RPM)
hertz มาจากชื่อนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ชื่อ ไฮน์ริช เฮิร์ตซ์ (Heinrich Rudolf Hertz) เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้าน แม่เหล็กไฟฟ้า
หน่วย hertz ได้กำหนดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) แล้วเริ่มมาใช้แทน หน่วย รอบต่อวินาที (cycles per second หรือ cps) ในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) หน่วย Hz ได้ใช้ทดแทนการใช้ cps แทบทั้งหมด
10. จอภาพ แป้นพิมพ์ และเมาส์ ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์
        ตอบ จอภาพคือ เป็นอุปกรณ์แสดงข้อมูลผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแสดงผลได้ทั้งตังหนังสือภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว โดยทั่งไปนิยมใช้สี
        แป้นพิมพ์ คือ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับเข้าข้อมูลจากการกดแป้นพิมพ์เพื่อส่งต่อคอมพิวเตอร์แป้นพิมพ์ที่นิยมใช้จะมี 101 แป้นและแยกเป็นอักขระและตัวเลขออกจากกัน
        เมาส์ คือ เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายตัวหนู ส่วนของสายสัญญาณจากตัวอุปกรณ์ที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายส่วนหางหนู เราสามารถใช้เมาส์ในการควบคุมตัวชี้ ที่ปรากฏบนหน้าจอภาพให้ความสามารถไปสู้ตำแหล่งต่างๆ

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

                           แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนที่ 2.  เรื่องระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1. คำว่า" ระบบ" และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร?
            ตอบ  ระบบ คือ ระเบียบเกี่ยวกับการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานเป็นอันเดียวกันตามหลักเหตุผลทางวิชาการ หรือหมายถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งมีความสัมพันธ์ ประสานเข้ากัน โดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระบบ(System) คือ กระบวนการต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันและมีความสัมพันธ์กันระหว่างกระบวนการเหล่านั้น และเชื่อมต่อกันเพื่อทำงานใดงานหนึ่งให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้

               วิธีการเชิงระบบหรือเทคนิคเชิงระบบ ( System Apporach ) หมายถึง วิธีการนำเอาความรู้เรื่องระบบเข้ามาเป็นกรอบช่วยในการค้นหาปัญหา กำหนดวิธีการแก้ปัญหาและใช้แนวทางความคิดเชิงระบบช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหา           
                                                           
   2. องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร?
               ตอบ 1.  ปัจจัยนำเข้า  Input   หมายถึง  วัตถุสิ่งของต่างๆ  รวมถึงเหตุการณ์ สถานการณ์ วัตถุประสงค์  ปัญหา  ความต้องการ  ข้อกำหนด  กฏเกณฑ์  อันเป็นต้นเหตุของประเด็นปัญหา
                        2. กระบวนการ (process)  หมายถึง  วิธีการ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน  การสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาและปัจจัยนำเข้าให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือความต้องการ
                        3. ผลลัพธ์ (Output) หมายถึง  ผลงานที่ได้จากระบวนการจัดการวัตถุดิบหรือปัจจัยนำเข้าผลงานที่ได้รับอาจจะเป็นวิธีการหรือชิ้นงานก็ได้  ซึ้งสามารถประเมิลผลและตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ  (feedback) ได้
    3. ระบบสารสนเทศ  หมายถึงอะไร?
            ตอบ   ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่ เป็นประโยชน์สูง สุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการตัดสินใจของบุคคลระดับบริหาร
ขบวนการที่ทำให้เกิดข่าวสารสารสนเทศนี้ เรียกว่า การประมวลผลผลสารสนเทศ (Information Processing) และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอีเล็กทรอนิกส์ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT)
    4. องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ  ได้แก่อะไร?
            ตอบ  ระบบการคิด หมายถึง  กระบวนการและขั้นตอนในการจัดลำดับ  จำแนก แจกแจง และจัดหมวดหมู่ ข้อมูลต่างๆ เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและเผยแพร่  ระบบการคิดจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของงานสารสนเทศทั้งระดับพื้นฐานและระดับสูงที่มี่ความยาวสลับซับซ้อนจนต้องใช้ทักษะการจัดการและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง เข้ามาใช้ในการดำเนินงาน
                      ระบบเครื่องมือ  หมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่นำมาใช้ในการรวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่ สารสนเทศให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการจัดการสารสนเทศที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในองค์กร หน่วยงาน หรืองานธุรกรรมต่างๆ แทบทุกวงการ จนทำให้คอมพิวเตอร์และข่ายอินเตอร์เน็ตกลายเป็นสัญลักษณ์ของสารสนเทศ
     5. สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร?
              ตอบ   ด้านจุดมุ่งหมาย ได้แก่ ข้อมูล ( data) สารสนเทศ (Information) ครามรู้ (knowledge) ปัญญา (wisdom) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
                         ด้านขั้นตอน ได้แก่ ข้อมูลนำเข้า (Input) กระบวนการ (process) และผลลัพธ์ (Output) การทำงานจะเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนข้อมูลดิบที่เข้ามา
                         ระบบสารสนเทศทั่งไป (Information process)  ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล(Hardware) ข้อมูล (Data) สารสนเทศ (Information) โปรแกรมซอฟต์แวร์ ( Software)
     6. โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร?
               ตอบ   มี 3 ขั้นตอน
                           1. การวิเคราะห์ระบบ (System   Analysis)
                           2. การสั่งเคราะห์ระบบ (System Synthesis)
                           3. การสร้างแบบจำลอง (Construct a Model)
      7. ระบบสารสนเทศระดับบุคคล  ระดับกลุ่ม  กับระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร?
              ตอบ ระดับบุคคล คือ ระบบที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคลในหน้าที่รับผิดชอบ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดเล็กลง ราคาถูก แต่มีความสามารถในการประมวลผลด้วยความเร็วสูงขึ้น 
                      ระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เตรียมสภาวะแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยทำเป้าหม้ายของธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผล มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
                      ระดับองค์กร คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก  โดยใช้ข้อมูลที่เกียวข้องร่วมกันด้วยวิธีส่งผ่านถึงกันจากแผนกหนึ่งข้ามไปอีกแผนกหนึ่ง
      8. ข้อมูลและความรู้ คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
               ตอบ  ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งหาทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ มีคุณลักษณะเป็นวัตถุสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ ทั้งที่เกิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
                          ความรู้ คือ เป็นสภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระของเนื้อสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปด้าย
       9. การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสานสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร?
               ตอบ   1. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
                           - การรวบรวมข้อมูล
                           - การบำรุงรักษาและผลประมวลผลข้อมูล
                           - การจัดการข้อมูล 
                           - การควบคุมข้อมูล
                           - การสร้างสารสนเทศ
                            2. วิธีการเก็บข้อมูล
                            - การสำรวจด้วยแบบสอบถาม
                            - การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
      10. จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกัน?
                 ตอบ  คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ้งใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกันให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนกันได้โดยใช้สายสื่อสารข้อมูลที่ทำจากทองแดงหรือเส้นใยแก้วนำแสงนิยมแบ่งเครือข่ายตามขนาดพื้นที่และจำนานเครื่องที่ใช้งาน  ได้แก่ แลน LAN แวน WAN อินเตอร์เน็ต (Internet) 
     



                                


     

























วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

                           
                      แบบฝึกหัดท้ายบทเรียนที่1. เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
                                                      
1.    จงให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศ
ตอบ เทคโนโลยี คือ วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย
  สารสนเทศ คือ คุณภาพของข้อความจากผู้ส่งไปหาผู้รับ สารสนเทศจะประกอบไปด้วย ขนาดและเหตุการณ์ของสารสนเทศนั้น สารสนเทศสามารถแทนข้อมูลที่มีความถูกต้องและความแม่นยำหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงหรือข้อโกหกหรือเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น.

2.   เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหมายถึงอะไร 
ตอบ  ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เทคโนโลยีเข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานทำให้มนุษย์มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น.

3.     เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร 
 ตอบ การทำงานที่อาศัยองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ  เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย).

4.  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาหรือการพัฒนาการโดยย่ออย่างไร
        ตอบ ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา.

5.  ระบบปัญญาประดิษฐ์ ( Artificial  Intelligence :AI  )  หมายถึงอะไร และมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างไร
ตอบ  คือ  ความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่นๆอย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลายๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่นๆ.

6.  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ   มันทำให้การประมวลผลสารสนเทศทำได้รวดเร็วขึ้น ส่งผลถึงการลดระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานสารสนเทศ ช่วยลดต้นทุน ลดเวลาที่ใช้ในการประมวลผลและการสื่อสารทำให้ผู้รับสารสนเทศปลายทางได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ช่วยสนับสนุนข้อมูลหลากหลายด้านเพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ ช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และเพิ่มคุณภาพชีวิตในการทำงาน.

7.  สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ 
 1. สารสนเทศที่ดีต้องมีความความถูกต้อง (Accurate) และไม่มีความผิดพลาด
2. ผู้ที่มีสิทธิใช้สารสนเทศสามารถเข้าถึง (Accessible) สารสนเทศได้ง่าย ในรูปแบบ และเวลาที่เหมาะสม ตาม
ความต้องการของผู้ใช้
3. สารสนเทศต้องมีความชัดเจน (Clarity) ไม่คลุมเครือ
4. สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ (Complete) บรรจุไปด้วยข้อเท็จจริงที่มีสำคัญครบถ้วน
5. สารสนเทศต้องมีความกะทัดรัด (Conciseness) หรือรัดกุม เหมาะสมกับผู้ใช้
6. กระบวนการผลิตสารสนเทศต้องมีความประหยัด (Economical) ผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจมักจะต้องสร้างดุลยภาพ
ระหว่างคุณค่าของสารสนเทศกับราคาที่ใช้ในการผลิต
7. ต้องมีความยึดหยุ่น (Flexible) สามารถในไปใช้ในหลาย ๆ เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์
8. สารสนเทศที่ดีต้องมีรูปแบบการนำเสนอ (Presentation) ที่เหมาะสมกับผู้ใช้ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
9. สารสนเทศที่ดีต้องตรงกับความต้องการ (Relevant/Precision) ของผู้ที่ทำการตัดสินใจ
10. สารสนเทศที่ดีต้องมีความน่าเชื่อถือ (Reliable) เช่น เป็นสารสนเทศที่ได้มาจากกรรมวิธีรวบรวมที่น่าเชื่อ ถือ หรือแหล่ง (Source) ที่น่าเชื่อถือ เป็นต้น
11. สารสนเทศที่ดีควรมีความปลอดภัย (Secure) ในการเข้าถึงของผู้ไม่มีสิทธิใช้สารสนเทศ
12. สารสนเทศที่ดีควรง่าย (Simple) ไม่สลับซับซ้อน มีรายละเอียดที่เหมาะสม (ไม่มากเกินความจำเป็น)
13. สารสนเทศที่ดีต้องมีความแตกต่าง หรือประหลาด (Surprise) จากข้อมูลชนิดอื่น ๆ
14. สารสนเทศที่ดีต้องทันเวลา (Just in Time : JIT) หรือทันต่อความต้องการ (Timely) ของผู้ใช้ หรือสามารถส่ง
ถึงผู้รับได้ในเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
15. สารสนเทศที่ดีต้องเป็นปัจจุบัน (Up to Date) หรือมีความทันสมัย ใหม่อยู่เสมอ มิเช่นนั้นจะไม่ทันต่อการ
เปลี่ยนแปลงที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
16. สารสนเทศที่ดีต้องสามารถพิสูจน์ได้ (Verifiable) หรือตรวจสอบจากหลาย ๆ แหล่ง ได้ว่ามีความถูกต้อง.

8.  จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
        ตอบ  ทีวี  โทรศัพท์  โทรทัศน์   ตู้เย็น  พัดลม   คอมพิวเตอร์ .

9.  จงอธิบายกระแสโลกาภิวัฒน์ ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน    
ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา โดยการโต้ตอบผ่านระบบเครือข่าย อาทิ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ ระบบประชุมบนเครือข่าย ระบบ Tele-education ระบบการค้าบนเครือข่าย (E-commerce) ลักษณะของการดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ทำให้ขยายขอบเขตการทำงานไปทุกหนทุกแห่งและดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง เห็นได้จากตัวอย่างที่มีมานานแล้ว เช่น ระบบเอทีเอ็ม ทำให้การเบิกจ่ายได้เกือบตลอดเวลา และกระจายไปใกล้ตัวผู้รับบริการมากขึ้น แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น การบริการจะกระจายมากยิ่งขึ้นจนถึงที่บ้าน ในอนาคตสังคมการทำงานจะกระจายจนงานบางงานอาจนั่งทำที่บ้านหรือที่ใดก็ได้ และเวลาใดก็ได้.

10.  จงกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านประโยชน์และโทษที่มีต่อผู้ใช้และในสังคม
     ตอบ  ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
              1. ลดแรงงานคนในการทำงานต่าง ๆ เช่น ควบคุมการผลิต และช่วยในการคำนวณ
              2. เพิ่มความสะดวกสบายตั้งแต่ส่วนบุคคล จนถึงการคมนาคมและสื่อสารทั่วโลก
    เป็นแหล่งความบันเทิง
            3. ได้ผลผลิตที่มีมาตรฐาน เหมือนกันหมดทุดชิ้น ซึ่งอิเกลเห็นว่าเป็นการลดคุณค่าของชิ้นงาน เพราะ Handmadeคืองาน   ชิ้นเดียวในโลก
          4. ลดต้นทุนการผลิต
          5.ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
6.ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม และ เกิดการกระจายโอกาส
7.ทำให้เกิดสื่อการเรียนการสอนต่างๆมากขึ้น
8.ทำให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น
9.ทำให้เกิดระบบการป้องกันประเทศที่มีประสิทธิภามมากยิ่งขึ้น
ตอบ  โทษของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.สิ้นเปลืองทรัพยากร เช่น น้ำมัน แก็ส และถ่านหิน จนกระทั้งน้ำ
2.เปลี่ยนสังคมชาวบ้าน ให้กลายเป็นวัตถุนิยม
3.ทำให้มนุษย์ขาดการออกกำลังกาย
4.ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน เพราะใช้แรงงานเครื่องจักรแทนแรงงานคน
5.ทำให้เสียเวลา ทั้งจากรายการไร้สาระในโทรทัศน์ จนกระทั่งนัก chat
หากใช้เว็ปไซด์จำพวก Social Network จะทำให้ผู้ใช้มีโลกเป็นของตนเอง ขาดการติดต่อกับผู้อื่น โดยเฉพาะที่เห็นชัดเจนเกิดช่องว่างระหว่างผู้สูงอายุกับเด็ก.